Translate

วันอาทิตย์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ข้อมูลพื้นฐานตำบลพระธาตุ





ข้อมูลพื้นฐานตำบลพระธาตุ

พระธาตุดอนแก้ว

ความเป็นมาของพระธาตุดอนแก้ว
                      พระธาตุดอนแก้ว ปัจจุบันตั้งอยู่ที่บ้านดอนแก้ว หมู่ 1ตำบลพระธาตุ  อำเภอเชียงกลาง จังหวัดน่าน    เดิมองค์พระธาตุมีสภาพทรุดโทรม เหลือแต่ซากปรักหักพัง   เนื่องจากไม่มีผู้ดูแล   จากการสันนิษฐาน  ชาวบ้านเชื่อว่าน่าจะเป็นองค์พระธาตุเก่าแก่มาแต่สมัยโบราณ    ซึ่งไม่อาจนับอายุได้  และบริเวณดังกล่าว  มักเกิดอภินิหาร  หรือมีปรากฏการณ์ที่ประหลาดเหนือธรรมชาติ  ให้ชาวบ้านได้เห็นอยู่เป็นประจำ  และทางทิศเหนือของพระธาตุองค์ขึ้นไปประมาณ  150   เมตร  จะเป็นบริเวณวัดร้างเก่าแก่  มีเศษอิฐโบราณ ทับถมกันอยู่จำนวนมาก  และมีการขุดพบพระพุทธรูปเชียงแสน ( สิงห์ 2 )  ซึ่งพระพุทธรูปดังกล่าวสันนิฐานว่ามีอายุราวนับพันปี    มีหลุมปั้นอิฐสร้างกำแพงพระธาตุในสมัยต่อมา      จึงน่าจะเป็นโบราณสถานที่ทำการก่อสร้างขึ้นมาในสมัยเดียวกันกับองค์พระธาตุ    ปัจจุบันยังมีหลักฐานหลงเหลืออยู่เพื่อให้ผู้คนได้เยี่ยมชม   
                 ต่อมา  ประชาชนในตำบลพระธาตุ  ได้เห็นความสำคัญ และต้องการอนุรักษ์ไว้เป็นโบราณสถานสืบทอดสู่ลูกหลาน   จึงได้ร่วมกันบูรณะซ่อมแซมองค์พระธาตุ   เพื่อให้เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง  เป็นที่เคารพสักการะของประชาชนในพื้นที่ตำบลพระธาตุ  และประชาชนในตำบลใกล้เคียง  โดยมีความเชื่อและเคารพในอภินิหารขององค์พระธาตุ  ที่มักเกิดปรากฎการณ์ต่างๆดังนี้

แก้วกินหมอก
                   เชื่อกันว่าพระธาตุองค์นี้มีแก้วกินหมอก ซึ่งจะสังเกตได้ว่าตามปกติในช่วงฤดูหนาวทุกพื้นที่จะมีหมอกหนาในช่วงเช้า แต่ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในเขตพื้นที่ตำบลพระธาตุ และตำบลเปือจะไม่มีหมอกลง ถึงแม้ว่าอำเภอใกล้เคียงจะมีหมอกหนามากเพียงใดก็ตาม ชาวบ้านจึงเชื่อว่าเป็นเพราะอภินิหารของพระธาตุองค์นี้  ที่ช่วยให้พื้นที่ตำบลพระธาตุ และตำบลเปือ  ไม่มีหมอก  และลดอุณหภูมิความหนาวเย็นของอากาศลง  
ลูกแก้วมหัศจรรย์
                   ประชาชนในแถบนี้ถือเป็นเรื่องปกติของพระธาตุองค์แห่งนี้  ที่มักเกิดมีปรากฏการณ์         ที่เรียกว่า   แก้วเสด็จ ซึ่งมักเกิดขึ้นในช่วงวันพระหรือวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา เช่น ในคืนวันขึ้น/วันแรม 8 ค่ำ 15 ค่ำ   จะมีผู้พบเห็นลูกแก้วแสดงอภินิหาร  โดยการเปล่งแสงบริเวณองค์พระธาตุ  เป็นประจำเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน
ลูกปืนใหญ่ไม่ระเบิด
ประมาณปี พ.ศ.  2503  -  2517  บริเวณพื้นที่แถบนี้  เป็นเขตพื้นที่  สีชมพู  มีพวกคอมมิวนิสต์     เข้ามาก่อการร้าย   และเกิดการสู้รบกันเป็นประจำ   พวกคอมมิวนิสต์ ได้ยิงกระสุนปืนใหญ่มาตกในเขตทุ่งนา    บริเวณใกล้องค์พระธาตุ    และด้วยอภินิหารขององค์พระธาตุ   จึงทำให้ลูกกระสุนปืนใหญ่ที่ยิงเข้ามาไม่ระเบิด  และไม่เป็นอันตรายต่อประชาชนในบริเวณใกล้เคียงและองค์พระธาตุ
บันดาลให้ฝนตก
                   พระธาตุองค์นี้มีความศักดิ์สิทธิ์ในเรื่องฝนมาก   จากประวัติความเป็นมาที่มีการบูรณะซ่อมแซมครั้งใหญ่นั้น  จะมีฝนตกห่าใหญ่    เชื่อว่ามาจากสาเหตุที่สิ่งศักดิ์สิทธิ์ในองค์พระธาตุดลบันดาลให้เกิดฝนตก  ช่วยให้ประชาชนเกิดความชุ่มฉ่ำคลายความร้อน   แม้ในระยะหลังๆ มา  จนถึงปัจจุบัน  ประชาชนในเขตตำบลพระธาตุ   ได้จัดให้มีการฉลององค์พระธาตุ  เพื่อเป็นการสักการะองค์พระธาตุขึ้นเป็นประจำทุกปี    และองค์พระธาตุจะแสดงอภินิหาร  ให้เกิดฝนตกในขณะที่ประชาชนมาร่วมทำบุญใหญ่อยู่เสมอมาทุกปี
อธิษฐานได้ดังใจ
                   พุทธศาสนิกชนมีความเดือดเนื้อร้อนใจ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องใดก็ตาม จะมาอธิษฐานบนบานขอให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่สิงสถิตอยู่ในองค์พระธาตุ    ดลบันดาลให้เกิดความร่มเย็นเป็นสุข   และก็สมดังปรารถนา   มีผู้เล่าว่าองค์พระธาตุแห่งนี้มีเทพารักษ์   รักษาอยู่หลายองค์หากจะอธิษฐานสิ่งใด ขออย่าใช้อาหารประเภท คาวหวาน  หรือผลไม้  มาสักการะเลย    ขอเพียงใช้ดอกไม้สีเหลือง  สีขาว หรือดอกมะลิร้อยเป็นพวงยิ่งดี   สิ่งของที่นำมาถวาย  ให้ใช้เป็นจำนวนเลขคี่  เช่น   พวง  5  พวง   หรือ  9  พวง ( เมื่อประสบความสำเร็จจากการอธิฐานแล้ว   จึงมาสักการะภายหลังก็ได้  )   และการอธิษฐานในขณะไหว้องค์พระธาตุให้หันหน้าไปทางทิศตะวันออก ( โดยการยืนอยู่ทางทิศตะวันตกของพระธาตุ )    หากสามารถปฏิบัติได้ควรสักการะโดยการตั้งสัจจะรักษา ศีล  5   และศีล  8  ภายในกำหนดกี่วัน   แล้วท่านจะพบแต่ความสงบร่มเย็น  และความเจริญก้าวหน้า

คำขวัญประจำตำบลพระธาตุ


                             พระธาตุดอนแก้วเรืองสี            
                             ถิ่นคนดีอนุรักษ์ป่า        
                             สี่ภาษาเป็นตำนาน                 
                             สืบสานวัฒนธรรมไทย                 
                             เขาสูงใหญ่ต้นน้ำเปือ     


ประวัติความเป็นมาของตำบลพระธาตุ

                   ตำบลพระธาตุ เดิมขึ้นอยู่กับตำบลเปือ    ต่อมาใน ปี พ.ศ.๒๕๒๐  ได้แยกออกมาตั้งเป็นตำบลขึ้นใหม่   ชื่อตำบลพระธาตุ   มีหมู่บ้านในเขตรับผิดชอบทั้งหมด  ๗  หมู่บ้าน   ในวันที่   ๑๕   สิงหาคม   ๒๕๒๑  ได้มีการเลือกตั้งกำนันประจำตำบลขึ้นครั้งแรก   และนายบุญเปล่ง  วงศา  ได้รับเลือกให้เป็นกำนันตำบลพระธาตุในสมัยนั้น 
                   ต่อมาในปี พ.ศ.๒๕๒๕  ได้มีการประกาศให้มีการจัดตั้งหมู่บ้านเพิ่มขึ้นใหม่  อีก ๑  หมู่บ้าน  คือบ้านพวงพยอม   หมู่ที่   ๘   และในปี  พ.ศ. ๒๕๒๗  ได้มีการประกาศจัดตั้ง  หมู่บ้านเด่นธาราเป็นหมู่บ้านหมู่ที่   ๙  และในปีพ.ศ. ๒๕๒๙ ได้ประกาศจัดตั้ง   หมู่บ้านหนองปลาให้เป็นหมู่บ้าน   หมู่ที่   ๑๐  
                   ปัจจุบันตำบลพระธาตุมีหมู่บ้านในเขตรับผิดชอบทั้งหมด    จำนวน  ๑๐  หมู่บ้าน  ประชาชนในตำบลพระธาตุ    ได้ยึดถือองค์พระธาตุดอนแก้ว    เป็นที่เคารพ สักการบูชา  เป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของประชาชนในตำบลพระธาตุ   และยกย่ององค์พระธาตุดอนแก้ว ให้เป็นสัญลักษณ์ของตำบลพระธาตุ    โดยมีผู้นำ  ที่ดำรงตำแหน่งกำนันตำบลพระธาตุ  จากอดีต จนถึงปัจจุบัน  ดังนี้

๑.      นายบุญเปล่ง      วงศา        ดำรงตำแหน่งตั้งแต่  ปี พ.ศ.  ๒๕๒๑  -  ๒๕๓๖
                   ๒.  นายคำปา      ศรีมาเหล็ก     ดำรงตำแหน่งตั้งแต่  ปี พ.ศ.  ๒๕๓๖  -  ๒๕๔๒
                   ๓.  นายโสภณ    ศรีมาเหล็ก       ดำรงตำแหน่งตั้งแต่  ปี พ.ศ.  ๒๕๔๒  -  ๒๕๔๙
                   ๔.  นายธวัช     คำยันต์            ดำรงตำแหน่งตั้งแต่  ปี พ.ศ.  ๒๕๔๙  -  ๒๕๕๔
                   ๕.  นายเผ่น  แสงชัย               ดำรงตำแหน่งตั้งแต่  ปี พ.ศ.  ๒๕๔๔  -  ๒๕๕๔
                     ๕.  นายเดช       มาลา           ดำรงตำแหน่งตั้งแต่  ปี พ.ศ.  ๒๕๕๔  -  ๒๕๕๖
                                                ๖.  นายอรินทร์   บุญเกิด          ดำรงตำแหน่ง กรกฎาคม ๒๕๕๖ – ปัจจุบัน
                   ตำบลพระธาตุ  ได้ยกฐานะจากสภาตำบลพระธาตุ  มาเป็นองค์การบริหารส่วนตำบล      พระธาตุเมื่อปี  พ.ศ.  ๒๕๔๐    และ ปัจจุบันมี  ดาบตำรวจทิวา  บุญเกิด   ดำรงตำแหน่งนายกองค์การบริหารส่วนตำบลพระธาตุ 

ที่ตั้งและอาณาเขต

ตำบลพระธาตุ  อยู่ห่างจากอำเภอเชียงกลาง  ไปทางทิศเหนือ  ประมาณ  ๕   กิโลเมตร มีพื้นที่ทั้งหมด  ๕๙  ตารางกิโลเมตร  มีเขตการปกครองติดต่อกับพื้นที่ใกล้เคียงดังต่อไปนี้
                   ทิศเหนือ          ติดต่อกับ         องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งช้าง
                   ทิศใต้             ติดต่อกับ         เทศบาลตำบลเชียงกลาง
                   ทิศตะวันออก     ติดต่อกับ         องค์การบริหารส่วนตำบลเชียงกลาง
                   ทิศตะวันตก      ติดต่อกับ         องค์การบริหารส่วนตำบลเปือ
1.2  สภาพภูมิประเทศ
          สภาพภูมิประเทศพื้นที่ทั้งหมด มี 48 ตารางกิโลเมตร หรือ  30,217  ไร่  แบ่งเป็น  2  ส่วน  คือ 
          ส่วนที่ 1  เป็นภูเขาสูง  ซึ่งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติดอยภูคาและดอยผาแดง  มีลักษณะสูงชัน  บางแห่งสามารถปลูกพืชไร่ได้  เช่น  ลิ้นจี่  ข้าวโพด  ข้าวไร่  การปลูกบ้านเรือนประชาชนนิยมปลูกตามไหล่เขา
          ส่วนที่ 2  เป็นที่ราบอยู่ระหว่างหุบเขาโดยเป็นที่ราบลุ่มมีลำน้ำธรรมชาติไหลผ่านได้แก่ ลำน้ำเปือ  ลำน้ำเป้า  ลำห้วยสะกิน  ลำห้วยฆ้อง  ลำห้วยอ้อ  ลำห้วยงั๊วะ  เป็นต้น
1.3 สภาพภูมิอากาศ
          ตำบลพระธาตุมีลักษณะภูมิอากาศ เป็นแบบมรสุมเมืองร้อน  มี  3  ฤดู  ได้แก่ 
ฤดูร้อน  อากาศจะร้อนมากอุณหภูมิสูงสุดเดือนเมษายน เฉลี่ยประมาณ  38  องศาเซลเซียส 
ฤดูฝน  มีฝนตกเฉลี่ยตลอดปี  ประมาณ 1,300  ม.ม.
ฤดูหนาว อากาศจะหนาวจัดอุณหภูมิต่ำสุดเดือน ธันวาคม เฉลี่ยประมาณ  5  องศาเซลเซียส แต่ในปีปัจจุบัน (2556) อากาศมักจะร้อนมากกว่าปีที่ผ่านมาเพราะเกิดภาวะโลกร้อน
1.4  ลักษณะการปกครอง
ตำบลพระธาตุแบ่งการปกครองออกเป็น 10 หมู่บ้าน จำนวนประชากรในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลพระธาตุ มีจำนวนประชากรรวมทั้งสิ้น 3,782 คน แยกเป็นชายจำนวน 1,902 คน หญิงจำนวน 1,880 คน ครัวเรือนจำนวน 1,060 ครัวเรือน ซึ่งจำแนกประชากรเป็นรายหมู่ ได้ดังนี้



หมู่ที่
ชื่อหมู่บ้าน
จำนวนครัวเรือน
จำนวนประชากร (คน)
ผู้นำ
ชาย
หญิง
รวม
1
บ้านดอนแก้ว
146
278
289
567
นายประพัฒน์  บุญเกิด
2
บ้านพร้าว
195
348
323
671
นายอรินทร์  บุญเกิด(กำนัน)
3
บ้านหัวน้ำ
76
131
146
277
นายธนิก  สงวนฤทธิ์
4
บ้านกลาง
167
277
274
551
นายสมเดช   สายน้ำน่าน
5
บ้านสร้อยพร้าว
136
210
214
424
นายภาส  อาจหาญ
6
บ้านป่ารวก
83
151
131
282
นายก้องเดช  สิงห์ธนะ
7
บ้านห้วยแก้ว
96
171
178
349
นายประสงค์  ตันกาบ
8
บ้านพวงพยอม
52
85
98
183
นายเสถียร  ชัยนิชู
9
บ้านเด่นธารา
61
95
115
210
นายบุญส่ง  วงษา
10
บ้านหนองปลา
71
155
128
283
นายศรีวรรณ  จิตตรง
รวมทั้งหมด
1,083
1,901
1,896
3,797


ที่มา     : สำนักทะเบียนอำเภอเชียงกลาง (สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง) ณ   6 ตุลาคม 2557
2. สภาพทางเศรษฐกิจ
          สภาพเศรษฐกิจมีการประกอบอาชีพการเกษตรเป็นหลัก  เช่น  การทำนา  ทำไร่  โดยมีการปลูกข้าว  ถั่วเหลือง  ถั่วลิสง  ยาสูบ  พริก  ยางพารา  และปลูกไม้ผล  ได้แก่  มะม่วง  ลำไย  ลิ้นจี่  เป็นต้น  และมีบางส่วนของประชากรในวัยแรงงานที่ออกไปทำงานในจังหวัดอื่น  โดยเฉพาะกรุงเทพมหานครและต่างประเทศ รายได้ประชากรเฉลี่ยต่อคนต่อปี 38,321.06 บาท

ด้านคมนาคม
                   องค์การบริหารส่วนตำบลพระธาตุ  มีถนนสายหลัก  2  สาย ซึ่งเป็นถนนลาดยาง คือ ถนนสายสันทนา- ป่ารวก  ความยาว  6  กิโลเมตร  และสายนาหนุน-มณีพฤกษ์  ความยาว 14  กิโลเมตร  ถนนทั้ง  2  สาย  แยกมาจากทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1080 (น่านทุ่งช้าง)
                   ด้านไฟฟ้า
                   หน่วยงานที่รับผิดชอบในการบริการด้านกระแสไฟฟ้า  คือ  การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเชียงกลาง  ปัจจุบันประชากรในตำบลพระธาตุ  มีไฟฟ้าเกือบครบทุกครัวเรือน

ด้านประปา/น้ำดื่มน้ำใช้
                   ประชากรในพื้นที่ใช้น้ำประปาภูเขาและประปาหมู่บ้าน  มีบางส่วนใช้บ่อน้ำตื้น
                   ด้านการสื่อสาร
                   ในเขตตำบลพระธาตุมีโทรศัพท์บ้าน  โทรศัพท์สาธารณะทั้งทางใกล้และทางไกล  นอกจากนั้นยังมีโทรศัพท์เคลื่อนที่ของประชาชนอีกจำนวนหนึ่งที่มีความสามารถตอบสนองความต้องการทางด้านการสื่อสารในยุคโลกาภิวัฒน์ได้
                  
ด้านการใช้ที่ดิน
                   ส่วนใหญ่ใช้ที่ดินเพื่อการเกษตรและที่อยู่อาศัย
                   ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
                   ทรัพยากรป่าไม้  ตำบลพระธาตุมีป่าไม้ธรรมชาติ  30,000  ไร่ ป่าชุมชน  5,000  ไร่ ซึ่งเป็นป่าต้นน้ำเปือและลำน้ำสายอื่น ๆอีกหลายแห่ง
                   ด้านทรัพยากรน้ำ
                   แหล่งน้ำสำคัญที่ใช้ประโยชน์ในด้านการเกษตรและการอุปโภค บริโภค คือ
                             - ลำน้ำเปือ      
- ลำน้ำอ้อ       
- ลำน้ำเป้า
                             - ลำห้วยงั๊วะ    
- ลำห้วยสะเกิน 
- ลำห้วยฆ้อง                                                                       
ด้านเกษตร
                   ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม  พืชที่ปลูก ได้แก่
- พืชไร่  เช่น  ข้าว  ข้าวโพด  ถั่วเหลือง  ถั่วลิสง  ยาสูบ  ฝ้าย  ฯลฯ
                   - พืชสวน  เช่น  มะขามหวาน  มะม่วง  ลิ้นจี่  ลำไย
                   - พืชผัก  เช่น  ผักกาดเขียวปลี  แตงกวา  ฟักทอง 
                   ด้านอุตสาหกรรม
                   เป็นการประกอบการด้านอุตสาหกรรมครัวเรือน  เช่น  การผลิตสินค้า OTOP คือ กระเป๋าถักด้วยมือ  มีรายได้เฉลี่ยประมาณปีละ 20,000  บาท/คน
3. สภาพสังคม
3.1 การศึกษาและศาสนา
                   ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลพระธาตุ มีจัดการศึกษาตั้งแต่ระดับก่อนประถมศึกษา ถึงระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยมีโรงเรียนอยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลพระธาตุ จำนวน 5 โรงเรียน
โรงเรียนประถมศึกษา
1. โรงเรียนบ้านพร้าวกลาง                   ตั้งอยู่ หมู่ที่ 4
2. โรงเรียนบ้านดอนแก้ว                     ตั้งอยู่ หมู่ที่ 1
3. โรงเรียนธาราบรรพต                      ตั้งอยู่ หมู่ที่ 9
4. โรงเรียนไลน์ออนหนองปลา               ตั้งอยู่ หมู่ที่ 10
โรงเรียนมัธยมศึกษา
1.       โรงเรียนพระธาตุพิทยาคม               ตั้งอยู่ หมู่ที่ 2
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
1.       ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลพระธาตุ     ตั้งอยู่ หมู่ที่ 8

การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเชียงกลาง   โดยมอบหมายให้ กศน.ตำบลพระธาตุ  รับผิดชอบจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ให้กับผู้ด้อยโอกาส  ผู้พลาดโอกาสทางการศึกษา และประชาชนในชุมชน  ในรูปแบบ กศน.ตำบล โดยมีครูอาสาสมัครการศึกษานอกโรงเรียนและ ครูกศน.ตำบล ประจำตำบล  รับผิดชอบในการจัดกิจกรรมการศึกษาตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน 
สถาบันและองค์กรศาสนา
วัด จำนวน 5 แห่ง
1.       วัดดอนแก้ว                               ตั้งอยู่ หมู่ที่ 1
2.       วันพร้าว                                  ตั้งอยู่ หมู่ที่ 2
3.       วัดหัวน้ำ                                  ตั้งอยู่ หมู่ที่ 3
4.       วันกลาง                                  ตั้งอยู่ หมู่ที่ 4
5.       วัดสร้อยพร้าว                            ตั้งอยู่ หมู่ที่ 5


สำนักสงฆ์ จำนวน 2 แห่ง
1.       สำนักสงฆ์เด่นธารา                      ตั้งอยู่ หมู่ที่ 9
2.       สำนักสงฆ์หนองปลา                     ตั้งอยู่ หมู่ที่ 10
          3.2  การสาธารณสุข
                   โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลพระธาตุ มีจำนวน 1 แห่ง                          1. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพระธาตุ ตั้งอยู่ หมู่ที่ 8
          3.3  การสังคมสงเคราะห์และสวัสดิการสังคม
                   ได้สงเคราะห์เบี้ยยังชีพให้กับผู้สูงอายุและผู้ด้อยโอกาสดังนี้
1.       ผู้สูงอายุ ได้รับเบี้ยยังชีพจำนวน 444  คน                      
2.       ผู้พิการ 186  คน
                     3.  ผู้ได้รับผลกระทบจากโรคเอดส์  13  คน
          3.4 ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
                   ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลพระธาตุ  ไม่มีปัญหาทางด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน  เนื่องจากเป็นสังคมในเครือญาติ  และพื้นที่ค่อนข้างจะแคบ
3.5 แหล่งท่องเที่ยว
                   ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลพระธาตุ  มีโบราณสถานที่สำคัญ คือ พระธาตุดอนแก้ว  ซึ่งมีการจัดงานนมัสการพระธาตุดอนแก้ว  ในวันเพ็ญเดือน 3 หรือเดือน 4 ซึ่งตรงกับวันมาฆบูชาของทุกปี


ข้อมูลแหล่งเรียนรู้ในชุมชน
ที่
ชื่อ
ที่อยู่
ลักษณะเด่น
แหล่งเรียนรู้การเพาะเห็ดนางฟ้า
บ้านเด่นธารา  
ม. ๙  ต.พระธาตุ
- เป็นศูนย์ถ่ายทอดความรู้ด้านอาชีพของชุมชนและเป็นสถานที่ฝึกอบรมด้านอาชีพของกลุ่มอาชีพการเพาะเห็ดนางฟ้า/นางรม  กลุ่มแปรรูปแหนมเห็ด /เห็ดสวรรค์
- เป็นแหล่งศึกษาดูงานด้าน
แหล่งเรียนรู้การถักไม้กวาด
บ้านเด่นธารา 
 ม. ๙  ต.พระธาตุ
- เป็นสถานที่ ศูนย์ถ่ายทอดความรู้และรวมกลุ่มอาชีพการถักไม้กวาด
แหล่งเรียนรู้กลุ่มตัดเย็บเสื้อผ้า
บ้านพวงพยอม 
ม.๘  ต.พระธาตุ
- เป็นสถานที่ ศูนย์ถ่ายทอดความรู้และรวมกลุ่มอาชีพการตัดเย็บเสื้อผ้า
ศูนย์ฝึกอาชีพชุมชนเฟอร์นิเจอร์ไม้
บ้านกลาง ม. ๔ ต.พระธาตุ
เป็นสถานที่ ศูนย์ถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับอาชีพการทำเฟอร์นิเจอร์ไม้ เช่น โต๊ะ เก้าอี้
กศน. ตำบลพระธาตุ
บ้านพวงพยอม
 ม.๘  ต.พระธาตุ
-  เป็นสถานที่จัดกิจกรรมและส่งเสริมการเรียนรู้ด้านการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

ข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่น
ที่
ชื่อ  -  สกุล
องค์ความรู้ของภูมิปัญญา
ที่อยู่
บทบาทของภูมิปัญญาต่อสถานศึกษา
นายบุญส่ง  วงษา
การถักไม้กวาด
๑๖ ม. ๙ ต.พระธาตุ
เป็นวิทยากร/แหล่งเรียนรู้
นายประสงค์    พรมรักษ์
การเพาะเห็ดนางฟ้า
๓๕ ม.๙ ต.พระธาตุ
เป็นวิทยากร/แหล่งเรียนรู้
นายบุตร  เพตะกร
ช่างจักสาน,ไม้กวาดดอกก๋ง
๘๐  ม.๑ ต.พระธาตุ
แหล่งเรียนรู้
นายถา   เพตะกร
ยาสมุนไพร
๖  ม.  ๑ ต.พระธาตุ
แหล่งเรียนรู้
นางอัมพร  สันติพงศธร
การทอผ้า
๗๔ ม. ๔  ต.พระธาตุ
แหล่งเรียนรู้
นายนุ่น  เพตะกร
พิธีกรรม(หมอทำขวัญ)
๕๙ ม. ๗  ต.พระธาตุ
แหล่งเรียนรู้


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น